พิกัด GPS | ละติจูด (N) | ลองจิจูด (E) |
เชียงใหม่ | 18º 50’ 19.2” | 98º 58’ 14.6” |
ลำปาง | 18º 17’ 35.5” | 99º 30’ 14.3” |
อุทยาานแห่งชาติแจ้ซ้อน | 18º 50’ 7.9” | 99º 28’ 6.8” |
จากจังหวัดเชียงใหม่ใช้เส้นทางหมายเลข 11 ผ่านจังหวัดลำพูนเข้าจังหวัดลำปางจากนั้นใช้เส้นทางสาย 1157 ก่อนถึงอำเภอเมืองปาน แยกขวาตามเส้นทาง 1252 ไปอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนออกจากแจ้ซ้อนเลี้ยวซ้ายออกเส้นทางเดิม จนถึงแยกบ้านปางแดง เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางสาย 118 ผ่านอำเภอดอยสะเก็ดเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดลำปางมีโรงแรมและเกสต์เฮาส์ให้พักมากมายหลายราคา อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนโทร. 0-5438-0000, 08 9851-3355 หรือติดต่อสำนักอุทยานแห่งชาติกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชโทร. 0-2562-0760, www.dnp.go.th หรือโทร. 1672, www.tourismthailand.org
ข้าวหนึกงา (ข้าวเหนียวงา) อาหารกินเล่นของชาวลำปาง ยำไก่ใส่หัวปลี ลาบ ยำไข่น้ำแร่ ข้าวแต๋น
ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้เซรามิรถม้าแบบย่อส่วนที่มีความประณีตละเอียดอ่อน สร้างให้ขยับเขยื้อนได้ หมูยอ แหนม แคบหมู น้ำพริกหนุ่ม ไส้ถั่ว
เส้นทางนี้ใช้เวลา 3 วัน 2 คืนคืนแรกพักที่ตัวเมืองลำปางคืนที่ 2 พักที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
ฤดูที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและมีอากาศเย็นสบายคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
เริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน 3,500 บาท
ประสบการณ์ 5 สัมผัสพระธาตุลำปางหลวงคุณจะได้เห็นพระธาตุกลับหัวภายในซุ้มพระบาทและคนที่เกิดปีฉลพลาดไม่ได้ต้องไปสักการะพระธาตุลำปางหลวงตามคติความเชื่อของการไหว้พระธาตุปีเกิดทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12
อยู่ทางฝั่งเหนือของสะพานข้ามแม่น้ำวัง
บริเวณสะพานเขลางค์ชุมชนเก่าแก่ของเมืองลำปางตั้งแต่สมัยที่ชาวพม่าเข้ามาทำการค้าไม้สักกับชาวอังกฤษ
บ้านเก่าแก่คือ บ้านเสานักบ้านไม้สักโบราณอายุ 115 ปี
อยู่ในความดูแลของกองทำไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นสถานที่ฝึกลูกช้างแห่งเดียวในประเทศไทย มีการแสดงช้างเข้าแถวช้างทำงานช้างทักทายแสดงวันละ 3 รอบ 10.00น. 11.00 น.และ13.30น.
เป็นอุทยานที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเพราะสามารถเดินทางมาได้ตลอดปีช่วงที่เหมาะสมและสวยที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
แหล่งน้ำพุร้อนที่มีสภาพการเกิดทางธรณีวิทยา มีกลิ่นกำมะถันอ่อนมีทั้งหมด
9 บ่อตั้งอยู่รวมกันในบริเวณที่ทำการอุทยานนอกจากนี้ยังมีบ่อน้ำอุ่นที่อุณหภูมิพอเหมาะกับการแช่หรืออาบ
น้ำตกมีทั้งหมด
6 ชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีแอ่งนำรองรับอยู่ตลอดสาย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน 1 กิโลเมตร มีทางเดินในสะดวกและสามารถเดินจากบ่อน้ำพุร้อนไม่มีน่าตกได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ เพื่อศึกษาด้านการพัฒนาป่าไม้และด้านการเกษตรที่เหมาะกับบริเวณต้นน้ำลำธารของภาคเหนือ ในศูนย์ฯ
แห่งนี้ประกอบด้วยงานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ ปศุสัตว์และโคนม ประมง งานปลูกหญ้าแฝก และการดำเนินงานหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ฯ
ห้วยฮ่องไคร้นับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
และศึกษาเกี่ยวกับนิเวศวิทยาได้เป็นอย่างดี