Route 1 Chiang Mai - Chiang Dao- Angkhang


Chiang Mai Trip


Route 1 Chiang Mai - Chiang Dao- Angkhang


   พิกัด GPS    ละติจูด(N)    ลองติจูด(E)  
   เชียงใหม่   

   18º 50’ 19.2”   

   99º 58’ 14.6”   

   เชียงดาว   

   19º 22’ 4.5”    

   98º 57’ 48.8”  

   อ่างขาง     

   19º 54’ 7.1”    

   99º 2’ 23.4”   

     จากจังหวัดเชียงใหม่ใช้เส้นทาง 107 ไปจนถึงอำเภอเชียงดาวต่อด้วยเส้นทาง 1178 ผ่านอุทยานแห่งชาติเชียงดาวแล้วต่อด้วยเส้นทาง 1340 ไปจนถึงดอยอ่างขาง

    สามารถพักที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีบ้านพักและลานกางเต็นท์โทร. 0-5345 0107-9 หรือรีสอร์ตเอกชนก็มีให้เลือกหลายระดับราคาโทร. 1672 www.tourismthailand.org

     สุดยอดขาหมูต้องขาหมูเชียงดาวขึ้นชื่อมาช้านานหรือจะเป็นก๋วยเตี๋ยวคล้ายข้าวซอยเคียงกับซาลาเปาแบบยูนนานไก่ย่างอบโสมและใบโสมผัด

     ผักผลไม้เมืองหนาวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโครงการหลวงถนนคนเดินในเชียงใหม่วันเสาร์ที่ถนนวัวลาย  ส่วนวันอาทิตย์ที่ประตูท่าแพและถนนราชดำเนินมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย  ราคาไม่แพง

    เส้นทางนี้ใช้เวลา 2 วัน 1 คืนก็เพียงพอ

    ตั้งแต่เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงอากาศดีที่สุดและดอกซากุระบานสะพรังพอดี

     เริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน 3,000 บาท


    ประสบการณ์ 5 สัมผัส  พลาดไม่ได้หากคุณเป็นนักชิม  ขาหมูเชียงดาว  สุดยอดของความอร่อยต้องร้านต้นตำรับเท่านั้น  เป็นบ้านไม้ 2 ห้องฝั่งขวามือถ้ามาจากเชียงใหม่ รับรองความอร่อยมาหลายสิบปีไม่มีเปลี่ยนรส


ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาว 



ชมช้างน้อยใหญ่ ชักไม้ลากซุงออกจากป่า อาบน้ำให้ช้างหรือใคอยากสนุกก็มีกิจกรรมขี่ช้าง ล่องแพไปตามลำน้ำปิง หรือจะขี่วัวเทียมเกวียนก็สนุกไม่แพ้กัน


ถ้ำเชียงดาว 

                            

   

อยู่ไม่ไกลจากตัวอำเภอเชียงดาวไปดูหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกตา มีทั้งม้า ไก่ฟ้า และอีกมากมาย สุดแท้แต่จินตนาการและมีพระพุทธรูปแบบพม่า




สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง 

      สถานีวิจัยไม้ผล  ไม้ดอก  ไม้ประดับเมืองหนาวสุดฮิตในภาคเหนือ สารพัดพืชผักเมืองหนาวมีให้ชมให้ชิม  ภายในยังมีการจัด สวนบอนไซ ซึ่งมาจากหลากหลายสายพันธุ์ทุกมุมทั่วโลก ในช่วงเดือนธันวาคม มกราคมดอยอ่างขางจะมีดอกซากุระ  หรือดอกนางพญาเสือโคร่งบานอวดสีสันเต็มสองข้างทาง


บ้านขอบด้ง 

      อยู่ทางเหนือขึ้นไปจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ที่นี้มีทั้งชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยุ่ด้วยกัน หมู่บ้านนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านกาเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแคเป็กำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ )บริเวณหน้าหมู่บ้านมีการจำลองบ้านรวมไปถึงวิถีชีวิตของชาวมูเซอให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป

บ้านนอแล  

      บ้านของชาวเขาเผ่าปะหล่อง เชื้อสายพม่าซุ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง  นับถือศาสนาพุทธ  ทุกวันพระ ผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล หมู่บ้านนี้อยู่เลยหมู่บ้านขอบด้งขึ้นไปสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย – พม่า